วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การแสดงของภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคใต้
โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาค ใต้  มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็น สำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดง เรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ ว่า   มโนห์รา
            ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลาย ตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และ จังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่อง บางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตก ต่างกัน
  จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจาก ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่า มัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง  ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจาก อินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระ พุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่าน เชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย
   ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย  เพราะการทรง ตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้
           ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัว ยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้ เสมอ
           ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
            ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย
           การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะ ต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย
  วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาด ครู  (เชิญครู)  “พิธีกาดครู”  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้น ก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการ รำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น
ลิเกป่า 
 เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้  เดิมเรียกว่า  ลิเก  หรือ ยี่เก  เมื่อลิเกของภาคกลางได้รับการเผยแพร่สู่ภาคใต้จึงเติมคำ ว่า  ป่า  เพื่อแยกให้ชัดเจน  เมื่อประมาณ  ๓๐  ปีที่ผ่านมาลิเกป่าได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง  แถบพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะจังหวัด กระบี่  ตรัง พังงา  ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันออก     ที่เป็นแหล่งความเจริญก็มีลิเกป่าอยู่ แพร่หลาย  เช่น อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อำเภอสะทิงพระ  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเมือง  จังหวัด สงขลา  ปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมลงจนถึงขนาดหาชมได้ยาก
        ลิเกป่า  มีชื่อเรียกต่างออกไป  คือ
          -  แขกแดง  เรียกตามขนบการแสดงตอนหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของลิเก คือ  การออกแขก“แขกแดง”  ตามความเข้าใจของชาวภาคใต้หมายถึงแขกอินเดีย  หรือ แขกอาหรับ  บางคนเรียกแขกแดงว่า “เทศ”  และ    เรียกการออกแขกแดงว่า  “ออก เทศ”
          -  ลิเกรำมะนา  เรียกตามชื่อดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดง คือ  รำมะนา  ซึ่งชื่อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากแสดงชนิดหนึ่งของมาลายูที่ ใช้กลอง  “ราบานา”  เป็นหลักอีกต่อหนึ่งก็ได้
          -  ลิเกบก  อาจเรียกชื่อตามกลุ่มชนผู้เริ่มวัฒนธรรมด้านนี้ ขึ้น  โดยชนกลุ่มนี้อาจมีสภาพวัฒนธรรมที่ล้าหลังอยู่ก่อน  เพราะ “บก”  หมาย ถึง  “ล้าหลัง”  ได้ด้วยลิเกบก  จึงหมายถึงของคนที่ด้อยทางวัฒนธรรม  ชื่อ นี้ใช้เรียกแถบจังหวัดสงขลา                     
          มะโย่ง  
เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม   กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี  เมื่อประมาณ  ๔๐๐  ปีมาแล้ว  จาก นั้นได้แพร่หลายไปทางรัฐกลันตัน
วิธีการแสดง    การแสดงมะโย่งเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยหัวหน้าคณะมะโย่งทำพิธีไหว้ครู  คือไหว้บรรพบุรุษผู้ฝึกสอนวิธีการแสดงมะ โย่ง    เครื่องบูชาครูก็มีกำนัลด้วยเงิน ๑๒ บาท เทียน ๖ แท่ง
การไหว้ครูนั้นถ้าเล่นธรรมดา   อาจไม่ต้องมีการไหว้ครูก็ได้     แต่ถ้าเล่น ในงานพิธี  หรือเล่นในงานทำบุญต่ออายุผู้ป่วยก็ต้องมีพิธีไหว้ครู   จะตัด ออกไม่ได้
        โอกาสที่แสดง  ตามปกติมะโย่งแสดงได้ทุกฤดูกาล   ยกเว้นในเดือนที่ ถือศีลอด  (ปอซอ)  ของชาวไทยมุสลิม   การแสดงมักแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น  งานฮารีรายอ
  
                         รองเง็ง
          การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ  เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพัก ครั้งละ ๑๐ – ๑๕ นาที  ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง  เมื่อดนตรีขึ้นเพลง รองเง็ง  ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง   เพื่อให้เกิด ความสนุกสนานยิ่งขึ้น   มีการเชิญผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย   ภายหลังมีการจัด ตั้งคณะรองเง็งแยกต่างหากจากมะโย่ง  ผู้ที่ริเริ่มฝึกรองเง็ง  คือ ขุนจารุวิเศษศึกษากร ถือว่าเป็นบรมครูทางรองเง็ง  เดิมการเต้นรองเง็งจะมี ลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง  แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง  ๗  เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง          การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ   ลำตัว  และลีลาการร่ายรำ   ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง  และความ ไพเราะของดนตรีประกอบกัน
การแต่งกาย   ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง   สวมหมวกไม่มีปีก    หรือใช้หมวก แขกสีดำ  นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน   สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่า ครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า  ซอแกะ 
เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง  มีเพียง  ๓  อย่าง คือ
๑.    รำมะนา   
๒.  ฆ้อง
๓.   ไวโอลิน
โอกาสที่แสดง    เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธี ต่างๆ   ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง  เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ  ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ  เช่น  งานแสดงศิลปวัฒนธรรม พื้นบ้าน
   

ประเพณีชักพระ

ประเพณีชักพระ...วัฒนธรรมภาคใต้
โดย...นางสาว สุธิดา คงทอง
อ. สทิงพระ จ. สงขลา
E-mail : suthida343@hotmail.com 

(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)

           ประเพณีชักพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีลากพระ " เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้มีการสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัย
ศรีวิชัย โดยสันนิษฐานว่าได้เกิดมีขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย มีพุทธตำนานเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงผนวชได้ 7
พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับ
มายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3
เดือน ครั้นทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไป
ถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญ
ประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก
ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น

ภาพจาก Web Site
http://www.prapayneethai.com/th/tradition/south/view.asp?id=0675#
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55


ประเพณีชักพระของชาวภาคใต้มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ลากพระทางบก กับ ลากพระทางน้ำ

ภาพจาก Web Site
http://www.psdg.moe.go.th/psdg54/index.
ข้อมูลภาพ ณ วันที่ 30-10-55
          ชักพระทางบก คือการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนนบพระ หรือบุษบก แล้วแห่แหน ใช้เชือกแบ่งผูกเป็น 2
สาย เป็นสายผู้หญิงและสายผู้ชาย ใช้โพน ฆ้อง ระฆัง เป็นเครื่องตีให้จังหวะในการลากพระ คนลากจะเบียดเสียดกันสนุกสนานและประสาน
เสียงร้องบทลากพระเพื่อผ่อนแรง วัดส่วนใหญ่ ที่ดำเนินการประเพณีลากพระวิธีนี้ มักตั้งอยู่ในที่ไกลแม่น้ำลำคลอง

          ชักพระทางน้ำ เป็นการอัญเชิญพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรขึ้นประดิษฐาน บนบุษบก ในเรือ แล้วแห่แหนโดยการลากไปทางน้ำ ประเพณี
ลากพระ ที่มักกระทำด้วยวิธีนี้ เป็นของวัดที่ส่วนใหญ่อยู่ใกล้แม่น้ำลำคลองการลากพระทางน้ำจะสนุกกว่าการลากพระทางบก เพราะสภาพ
การเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมอื่น ๆ เช่น สะดวกในการลากพระ ง่ายแก่การรวมกลุ่มกันจัดเรือพาย แหล่งลากพระน้ำที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่ง คือ
ที่อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร อำเภอพุนพินและ อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช รองลงมาอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง การชักพระทางน้ำของเกาะพะงัน จังหวัด
สุราษฎร์ธานี แปลกกว่าที่อื่น คือ จะลากกัน 3 วัน ระหว่างแรม 8 ค่ำถึงแรม 10 ค่ำ เดือน 11 มีการปาสาหร่ายโต้ตอบกันระหว่างหนุ่มสาว
มีการเล่นเพลงเรือ และที่แปลกพิเศษ คือ มีการทอดผ้าป่าสามัคคีในวันเริ่มงาน

ระบำโคมประทีป

ระบำโคมประทีปสุโขทัย



นาย ชัยวัฒน์  ทองศักดิ์  ได้กล่าวถึงหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ จารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตอนที่กล่าวถึงประเพณีการทอดกฐินเนื่องในเทศกาลออกพรรษาว่า  “......เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึ่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ยพนมหมากมีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนนอน บริพารกฐินโอยทานแล่ปีแล้ญิบล้านไปสวดกฐินถึงอรัญญิกพู้น  เมื่อจักเข้ามาเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงดํกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพิน เสียงเลื่อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากประตูหลวง  เทียนย่อมคนเสียดกันเข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดังจักแตก”
      เมื่อหมดเทศกาลกฐินแล้วในกลางเดือนของเดือนสิบสองจะมีประเพณีลอยกระทง ในสมัยสุโขทัยเรียกว่า “พิธีจองเปรียง – ลอยประทีป”
      สำหรับการทำโคมชัก โคมแขวน ในปัจจุบัน ท่านอาจารย์ทองเจือ  สืบชมภู ได้กล่าวไว้ว่า โคมแต่ละโคม ต้องใช้ระยะเวลาทำประมาณ  ๒-๓   เดือนจึงจะสำเร็จ   โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์พืชเม็ดเล็ก ๆ ได้แก่ เม็ดมะกล่ำตาหนู, ข้าวฟ่างสีส้ม ขาว ดำ เหลือง, ข้าวเปลือกนก, งาขาว ดำ แดง เทา ถั่วเขียว, เข็มหมุด, เมล็ดผักกาด, เมล็ดข้าวเหนียว, เมล็ดผักชี, เปลือกไข่, เปลือกไหม, ใบลาน, ดอกตะแบก, ดอกบานไม่รู้โรย, ทราย,    เชือกผักตบชวา, ไหมญี่ปุ่น, ดวงไฟ, กระดาษแข็ง, ไม้ไผ่, ไม้อัด, กระดาษสา, เชือก, เส้นด้าย และอื่น ๆ มาร้อยเรียง แต่งแต้มให้เป็นโคมชักโคมแขวน  แต่ละเสี้ยวของโคมต้องใช้ ความประณีต ความอดทน และความพยายาม  อย่างมาก เพื่อให้สมกับความวิจิตรตระการตาที่นำมาให้ได้ชมในงาน    ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ
      วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย เป็นสถานศึกษาที่อนุรักษ์ และสืบทอดศิลปะสาขาดนตรี นาฏศิลป์  จึงได้สร้างสรรค์ชุดการแสดงที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ได้แก่ ระบำโคมประทีปสุโขทัย ซึ่งเป็นการแสดงที่สร้างสรรค์เพลงและท่ารำมาจากความงดงามของโคมชักโคมแขวนใน เทศกาลเผาเทียนเล่นไฟของจังหวัดสุโขทัย  ซึ่งเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ในรูปของการแสดงนาฏศิลป์ดนตรี และเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียน มีส่วนในการอนุรักษ์ศิลปะให้เยาวชนรุ่น หลังได้รู้จักและร่วมกันอนุรักษ์สืบต่อไป