วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การแสดงของภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคใต้

การแสดงนาฏศิลป์ไทยภาคใต้
โนรา   เป็นนาฏศิลป์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด  ในบรรดาศิลปะการแสดงของภาค ใต้  มีความยั่งยืนมานับเป็นเวลาหลายร้อยปี   การแสดงโนราเน้นท่ารำเป็น สำคัญ    ต่อมาได้นำเรื่องราวจากวรรณคดีหรือนิทานท้องถิ่นมาใช้ในการแสดง เรื่อง พระสุธนมโนห์รา เป็นเรื่องที่มีอิทธิพลต่อการแสดงมากที่สุดจนเป็นเหตุให้เรียกการแสดงนี้ ว่า   มโนห์รา
            ตามตำนานของชาวใต้เกี่ยวกับกำเนิดของโนรา  มีความเป็นมาหลาย ตำนาน  เช่น ตำนานโนรา   จังหวัดตรัง   จังหวัดนครศรีธรรมราช   จังหวัดสงขลา   และ จังหวัดพัทลุง     มีความแตกต่างกันทั้งชื่อที่ปรากฏในเรื่องและเนื้อเรื่อง บางตอน ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจาก ความคิด ความเชื่อ ตลอดจนวิธีสืบทอดที่ต่างกัน   จึงทำให้รายละเอียดปลีกย่อยของแต่ละตำนานแตก ต่างกัน
  จากการศึกษาท่ารำอย่างละเอียดจะเห็นว่าท่ารำที่สืบทอดกันมานั้น  ได้มาจาก ความประทับใจที่มีต่อธรรมชาติ    เช่น   ท่าลีลาของสัตว์บางชนิดมี   ท่า มัจฉา   ท่ากวางเดินดง    ท่านกแขกเต้าเข้ารัง  ท่าหงส์บิน  ท่ายูงฟ้อนหาง ฯลฯ  ท่าเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  เช่น ท่าพระจันทร์ทรงกลด  ท่ากระต่ายชมจันทร์  ต่อมาเมื่อได้รับวัฒนธรรมจาก อินเดียเข้ามาก็มี  ท่าพระลักษมณ์แผลงศร  พระรามน้าวศิลป์  และท่าพระ พุทธเจ้าห้ามมาร   ท่ารำและศิลปะการรำต่างๆ  ของโนรา    ท่านผู้รู้หลายท่าน เชื่อว่าเป็นต้นแบบของละครชาตรีและการรำแม่บทของรำไทยด้วย
   ท่ารำโนรามีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ผู้ที่ฝึกหัดนาฏศิลป์ของภาคกลางแล้วจะรำท่าของโนราไม่สวย  เพราะการทรง ตัว  การทอดแขน  ตั้งวงหรือลีลาต่างๆ ไม่เหมือนกัน  ผู้ที่จะรำโนราได้สวยงามจะต้องมีพื้นฐานการทรงตัว  ดังนี้
           ช่วงลำตัว     จะต้องแอ่นอกอยู่เสมอ     หลังจะต้องแอ่นและลำตัว ยื่นไปข้างหน้า     ไม่ว่าจะรำท่าไหน  หลังจะต้องมีพื้นฐานการวางตัวเช่นนี้ เสมอ
           ช่วงวงหน้า   วงหน้า  หมายถึง ส่วนลำคอกระทั่งศีรษะ จะต้องเชิดหน้าหรือแหงนขึ้นเล็กน้อยในขณะรำ
            ช่วงหลัง      ส่วนก้นจะต้องงอนเล็กน้อย
           การย่อตัวเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง  การรำโนรานั้น  ลำตัวหรือทุกส่วนจะ ต้องย่อลงเล็กน้อย นอกจาก   ย่อลำตัวแล้วเข่าจะต้องย่อลงด้วย
  วิธีการแสดง  การแสดงโนรา   เริ่มต้นจากการลงโรง   (โหมโรง)กาดโรงหรือกาด ครู  (เชิญครู)  “พิธีกาดครู”  ในโนราถือว่าครูเป็นเรื่องสำคัญมาก  ฉะนั้น ก่อนที่จะรำจะต้องไหว้ครู  เชิญครูมาคุ้มกันรักษา  หลายตอนมีการ รำพัน  สรรเสริญครู  สรรเสริญคุณมารดา  เป็นต้น
ลิเกป่า 
 เป็นการแสดงพื้นบ้านทางภาคใต้  เดิมเรียกว่า  ลิเก  หรือ ยี่เก  เมื่อลิเกของภาคกลางได้รับการเผยแพร่สู่ภาคใต้จึงเติมคำ ว่า  ป่า  เพื่อแยกให้ชัดเจน  เมื่อประมาณ  ๓๐  ปีที่ผ่านมาลิเกป่าได้รับ ความนิยมอย่างกว้างขวาง  แถบพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกโดยเฉพาะจังหวัด กระบี่  ตรัง พังงา  ส่วนทางฝั่งทะเลตะวันออก     ที่เป็นแหล่งความเจริญก็มีลิเกป่าอยู่ แพร่หลาย  เช่น อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง อำเภอสะทิงพระ  จังหวัดสงขลา  และอำเภอเมือง  จังหวัด สงขลา  ปัจจุบันได้เสื่อมความนิยมลงจนถึงขนาดหาชมได้ยาก
        ลิเกป่า  มีชื่อเรียกต่างออกไป  คือ
          -  แขกแดง  เรียกตามขนบการแสดงตอนหนึ่งซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของลิเก คือ  การออกแขก“แขกแดง”  ตามความเข้าใจของชาวภาคใต้หมายถึงแขกอินเดีย  หรือ แขกอาหรับ  บางคนเรียกแขกแดงว่า “เทศ”  และ    เรียกการออกแขกแดงว่า  “ออก เทศ”
          -  ลิเกรำมะนา  เรียกตามชื่อดนตรีหลักที่ใช้ประกอบการแสดง คือ  รำมะนา  ซึ่งชื่อนี้อาจได้รับอิทธิพลมาจากแสดงชนิดหนึ่งของมาลายูที่ ใช้กลอง  “ราบานา”  เป็นหลักอีกต่อหนึ่งก็ได้
          -  ลิเกบก  อาจเรียกชื่อตามกลุ่มชนผู้เริ่มวัฒนธรรมด้านนี้ ขึ้น  โดยชนกลุ่มนี้อาจมีสภาพวัฒนธรรมที่ล้าหลังอยู่ก่อน  เพราะ “บก”  หมาย ถึง  “ล้าหลัง”  ได้ด้วยลิเกบก  จึงหมายถึงของคนที่ด้อยทางวัฒนธรรม  ชื่อ นี้ใช้เรียกแถบจังหวัดสงขลา                     
          มะโย่ง  
เป็นศิลปะการแสดงละครอย่างหนึ่งของชาวไทยมุสลิม   กล่าวกันว่า มะโย่งเริ่มแสดงในราชสำนักเมืองปัตตานี  เมื่อประมาณ  ๔๐๐  ปีมาแล้ว  จาก นั้นได้แพร่หลายไปทางรัฐกลันตัน
วิธีการแสดง    การแสดงมะโย่งเริ่มต้นด้วยการไหว้ครู โดยหัวหน้าคณะมะโย่งทำพิธีไหว้ครู  คือไหว้บรรพบุรุษผู้ฝึกสอนวิธีการแสดงมะ โย่ง    เครื่องบูชาครูก็มีกำนัลด้วยเงิน ๑๒ บาท เทียน ๖ แท่ง
การไหว้ครูนั้นถ้าเล่นธรรมดา   อาจไม่ต้องมีการไหว้ครูก็ได้     แต่ถ้าเล่น ในงานพิธี  หรือเล่นในงานทำบุญต่ออายุผู้ป่วยก็ต้องมีพิธีไหว้ครู   จะตัด ออกไม่ได้
        โอกาสที่แสดง  ตามปกติมะโย่งแสดงได้ทุกฤดูกาล   ยกเว้นในเดือนที่ ถือศีลอด  (ปอซอ)  ของชาวไทยมุสลิม   การแสดงมักแสดงในงานรื่นเริงต่างๆ เช่น  งานฮารีรายอ
  
                         รองเง็ง
          การเต้นรองเง็งสมัยโบราณ  เป็นที่นิยมกันในบ้านขุนนาง หรือเจ้าเมืองในสี่จังหวัดชายแดน ต่อมาได้แพร่หลายสู่ชาวบ้านโดยอาศัยการแสดงมะโย่งเป็นเรื่องและมีการพัก ครั้งละ ๑๐ – ๑๕ นาที  ระหว่างที่พักนั้นสลับฉากด้วยรองเง็ง  เมื่อดนตรีขึ้นเพลง รองเง็ง  ฝ่ายหญิงที่แสดงมะโย่งจะลุกขึ้นเต้นจับคู่กันเอง   เพื่อให้เกิด ความสนุกสนานยิ่งขึ้น   มีการเชิญผู้ชมเข้าร่วมวงด้วย   ภายหลังมีการจัด ตั้งคณะรองเง็งแยกต่างหากจากมะโย่ง  ผู้ที่ริเริ่มฝึกรองเง็ง  คือ ขุนจารุวิเศษศึกษากร ถือว่าเป็นบรมครูทางรองเง็ง  เดิมการเต้นรองเง็งจะมี ลีลาตามบทเพลงไม่น้อยกว่า ๑๐ เพลง  แต่ปัจจุบันนี้ที่นิยมเต้นมีเพียง  ๗  เพลงเท่านั้น
วิธีการแสดง          การเต้นรองเง็ง ส่วนใหญ่มีชายหญิงฝ่ายละ ๕ คน โดยเข้าแถวแยกเป็นชายแถวหนึ่งหญิงแถวหนึ่งยืนห่างกันพอสมควร ความสวยงามของการเต้นรองเง็งอยู่ที่ลีลาการเคลื่อนไหวของเท้า มือ   ลำตัว  และลีลาการร่ายรำ   ตลอดจนการแต่งกายของคู่ชายหญิง  และความ ไพเราะของดนตรีประกอบกัน
การแต่งกาย   ผู้ชายแต่งกายแบบพื้นเมือง   สวมหมวกไม่มีปีก    หรือใช้หมวก แขกสีดำ  นุ่งกางเกงขายาวกว้างคล้ายกางเกงจีน   สวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่า ครึ่งอกสีเดียวกับกางเกง ใช้โสร่งยาวเหนือเข่าสวมทับกางเกงเรียกว่า  ซอแกะ 
เครื่องดนตรี และเพลงประกอบ ดนตรีที่ใช้ประกอบการเต้นรองเง็ง  มีเพียง  ๓  อย่าง คือ
๑.    รำมะนา   
๒.  ฆ้อง
๓.   ไวโอลิน
โอกาสที่แสดง    เดิมรองเง็งแสดงในงานต้อนรับแขกเมืองหรืองานพิธี ต่างๆ   ต่อมานิยมแสดงในงานรื่นเริง  เช่น งานประจำปี งานอารีรายอ  ตลอดจนการแสดงโชว์ในโอกาสต่างๆ  เช่น  งานแสดงศิลปวัฒนธรรม พื้นบ้าน
   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น